ร่ำรวยความสุข
. . . . . . มีพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า
. . . . . . "สันตุฏฐี ปะระมัง ธะนัง"
. . . . . . "ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง" . . . . . . คำว่า "สันโดษ" หมายถึง ความยินดี ในสิ่งที่ ตนเองมี นั่นแหละ เป็นทรัพย์ คืออำนวยความสุข และประโยชน์ ให้แก่ตนเองนี้เรียกว่า "ความสันโดษ"
. . . . . . สิ่งที่เรามี คือสิ่งจำเป็น ได้แก่ ข้าว ผ้า ยา บ้าน เรียกว่า "ปัจจัย 4 " ซึ่งถ้าหาไม่มีพอใช้ นั่นเป็นความเดือดร้อน เขาเรียก "คนยากจน" หาพอใช้ไปวัน ๆ หนึ่ง ที่เรียกว่า "ตำข้าวสารกรอกหม้อ"
. . . . . . ดังนั้นปัจจัย 4 หาให้มีพอใช้นั้น จึงจะเป็นความสุข แต่บางทีก็ไม่มีความสุข เพราะไม่มีความสันโดษ คือไม่มีความยินดีในสิ่งที่ตนมี
. . . . . . ดังนั้นในจุดต่อมา ก็คือว่า "จะต้องมีความพอใจ ในสิ่งที่ตนมีอยู่" ถ้าปราศจากความพอใจ ถึงปัจจัยสี่มีพอใช้ แต่ไม่พอใจ ในสิ่งที่เรามี ก็ไม่มีความสุข จะเกิดความรังเกียจ
แล้วก็เกิดความสิ้นเปลือง เกิดนิสัยประชันขึ้น
. . . . . . เมื่อนิสัยประชันเกิด ความสูญเสียทรัพย์สินก็จะมากขึ้น
. . . . . . อย่าประชัน จงประหยัด
. . . . . . "ประชันวิบัติ ประหยัดไพบูลย์"
. . . . . . แต่ถ้าจะประชัน ก็ควร "ประชันประหยัดกัน" ทุกคนก็จะ เป็นผู้ร่ำรวย ปัจจัยสี่ ที่มีอยู่แล้วก็จะอำนวยประโยชน์สุขให้ได้
. . . . . . นี่แหละท่านทั้งหลาย พุทธพจน์ที่ว่า "ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง" คือ
"ความสุขที่แท้จริงของพวกเรา"